KNOWLEDGE

    • 15:50
    • 23/01/19

    วิทยุสื่อสาร จัดว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการสื่อสารที่สำคัญของหลายหน่วยงานและองค์กร ต่างก็นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีไปอย่างกว้างและก้าวไกล อุปกรณ์นี้ยังคงเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่องและไม่มีแนวโนมที่จะลดลง

    การสื่อสารถือเป็นเรื่องสำคัญของทุกคน รวมไปถึงหน่วยงาน องค์กร ทั้งที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เพราะทำให้สามารถเข้าถึงความเข้าใจในการทำงานและความพร้อมเพียงในการเตรียมงานนั้นๆ บ่อยครั้งเรามักจะใช้โทรศัพท์ในการสิ่อสาร สั่งงาน กับบุคคลต่างๆ ภายในทีมหรือองค์กร มันก็ยังคงมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ไม่สามารถสื่อสารให้คนในองค์กรนั้นทราบพร้อมกันได้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน

    ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวิทยุสื่อสารจะเห็นว่าข้อดีของอุปกรณ์นี้ สามารถทำได้ดีกว่าเพราะสามารถสื่อสารบอกคนในทีมได้พร้อมๆ กัน ขอแค่คนนั้นๆ มีอุปกรณ์ตัวนี้ก็พอ ซึ่งทุกคนก็สามารถตอบกลับได้ทันที แต่ข้อเสียของมันก็มีอยู่บ้าง อย่างเช่น อุปกรณ์ตัวนี้ ส่วนใหญ่จะสื่อสารไม่ได้ไกลมากนัก ขึ้นอยู่กับคลื่นความถี่ของอุปกรณ์ ดังนั้นจึงนิยมใช้ภายในงานเฉพาะพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร ภายในงานสังสรรค์ โรงงาน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ใช้คลื่นความถี่แบบระยะไกลเช่น ตำรวจ 1669 โรงพยาบาล ซึ่งคนกลุ่มนี้จะสามารถสื่อสารกันได้ไกลหลายกิโลเมตรเลยทีเดียว เพราะ อาศัยคลื่นส่งสัญญาณขนาดใหญ่ เหมือนกับสถานีวิทยุนั้นเอง แต่ในปัจจุบันนี้ก็มีการใช้วิธีการสื่อสารแบบใหม่ในโลกของโซเชียล นั้นคือการแชท แต่เดิมมันถูกทำมาเพื่อแชทแบบ 1 – 1 และถูกพัฒนาให้สามารถแชทแบบกลุ่มได้ ทุกวันนี้มีหลายบริษัทที่นำแอพหรือโปรแกรมนี้มาใช้ในการทำงาน เช่น แอพพลิเคชั่น LINE

    อย่างเช่น ฝ่ายยึดรถของ บริษัทไฟแนนซ์ ก็มักจะแชร์รูปรถที่กำลังตามยึด หรือ สถานีตำรวจ วางแผนการตั้งด่านสุ่มตรวจยาเสพติด ซึ่งอย่างบริษัทไฟแนนซ์หากจะพกวิทยุสื่อสารก็คงไม่เหมาะ ส่วนสถานีตำรวจหากใช้วิทยุในการสื่อสารก็กลัวจะโดนดักฟัง หากเป็นคนร้ายก็คงจะรู้ตัว เพราะคลื่นความถี่ของวิทยุเหล่านี้หากจูนความถี่มาถูกก็จะสามารถได้ยินทุกสิ่งทุกอย่างที่มีการสื่อสารผ่านทางวิทยุ

    นั้นคือเหตุผลที่หลายสถานที่ หลายหน่วยงานยังคงนิยมใช้วิทยุสื่อสาร นอกจากความสะดวกและเหมาะสมกับงานหากเทียบกับการสื่อสารด้วยวิธีอื่น อุปกรณ์นี้ยังคงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด หากเลือกใช้ในงานที่เหมาะสม เพราะราคาและขนาด การออกแบบของอุปกรณ์ ที่มีรูปแบบต่างกันออกไป จึงทำให้หน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ เลือกใช้งานวิทยุสำหรับกสื่อสารในปัจจุบันเป็นอย่างมากและเชื่อว่าต่อให้มีอุปกรณ์มือถือรุ่นใหม่หรือเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลแค่ไหน ความนิยมของอุปกรณ์ตัวนี้จะไม่ลดน้อยลงอย่างแน่นอน

    • 14:23
    • 18/10/17

    วิทยุสื่อสาร ทุกคนคงรู้จักกันดี แต่ Trunked Radio หรือระบบวิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ เป็นเครือข่ายวิทยุสื่อสาร ที่มีการทำงานคล้ายกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่นั่นเอง จะมีสถานีกลาง (System Control) ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณให้มีจำนวนช่องสัญญาณเพียงพอในการรองรับการใช้งานของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดในระบบ มีสถานีทวนสัญญาณ (Repeater Station) ทำหน้าที่เชื่อมโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ของเครือข่ายนั้นๆ และเลือกช่องสัญญาณที่ว่างอยู่ให้ลูกข่ายโดยอัตโนมัติ อีกทั้งสามารถเรียกเฉพาะเครื่องลูกข่ายที่ต้องการติดต่อได้ และมีระบบการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม (Private Call) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระบบการเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคมอื่น (PCM Switch) และมี โปรโตคอล MPT 1327 เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน นี่เป็นภาพรวมพอเข้าใจระบบ วิทยุ ทรั้งค์ จะเห็นว่ามันก็คือ เซลลูลาร์ ชนิดหนึ่งนั่นเอง เพียงแต่ว่า “ไม่เสียค่า แอร์ไทม์” 

    ภาพสถานีทวนสัญญาณ วิทยุ ทรั้งค์ ด้านบนกลมๆ สีดำบนชั้น Rack เป็น Duplexer ทำหน้าที่แยกภาครับส่งของสายอากาศ กล่องสีดำรองลงมาคือ Repeater ส่วนกล่องสีขาวตรงกลางคือ PCM Switch และกล่องสีดำล่างกล่องขาวคือ Controller ส่วนกล่องดำล่างสุดเป็นภาคจ่ายไฟฟ้า และสำรองไฟฟ้า 

    โดยที่การสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุทรั้งค์ จะประกอบไปด้วยข้อมูลต่าง ได้แก่

      o VOICE PLUS DATA เป็นระบบที่สนับสนุนการสื่อสารสัญญาณเสียงและรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งต้องเป็นการติดต่อผ่านสถานีแม่ข่ายเท่านั้น

     o PACKET DATA OPTIMIZED เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อการรับ-ส่งข้อมูลแบบ PACKET โดยเฉพาะ เช่น การเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือระบบควบคุม

       o DIRECT MODE หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างลูกข่ายโดยตรง ไม่ผ่านการจัดการจากหน่วยจัดการกลาง ซึ่งโดยปกติจะใช้เมื่ออยู่นอกพื้นที่ให้บริการของสถานีแม่ข่าย หรือกำหนดเพื่อต้องการความปลอดภัยในระดับสูง

    ตัวอย่าง Supported regional link options

    Traditional 2/4 Wire - 64Kbit - Microwave links - Digital UHF radio links - T1/E1 - TCP/IP     ในยุคต้น ระบบ TRUNKED RADIO และ CONVENTIONAL LAND MOBILE เป็นเทคโนโลยีแบบ อะนาลอก ซึ่งไม่มีความปลอดภัยหรือเป็นส่วนตัวมากนัก อีกทั้งยังเป็นการใช้ความถี่วิทยุที่ค่อนข้างจะสิ้นเปลือง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเหล่านี้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งนับได้ว่าเป็นระบบที่มีความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง ที่สำคัญเป็นเทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการการใช้ความถี่วิทยุได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาไปสู่ระบบดิจิทัลยังสามารถรวมเอาคุณสมบัติการสื่อสารทั้งแบบ TRUNKED RADIO และ CONVENTIONAL LAND MOBILE เข้าด้วยกันได้ โดยเรียกว่าระบบ DIGITAL TRUNKED RADIO 

    วิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ ในประเทศไทยใช้สำหรับติดต่อภายในกลุ่มองค์กรใหญ่หรือหน่วยงานราชการ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นระบบดิจิตอลแล้ว ก็ได้มีการพัฒนาความสามารถของระบบให้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสามารถที่ลูกข่ายสามารถติดต่อกันเองได้โดยไม่ต้องผ่านการควบคุม และจัดการโดยสถานีแม่ข่าย หรือแม้แต่การเพิ่มความสามารถในการรองรับ-ส่งภาพเคลื่อนไหวแบบ Multi media ได้ รวมถึงการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ ทั้งนี้เทคโนโลยีต่างๆ ได้มีการพัฒนาที่แตกต่างกันไปในทางเทคนิค แต่ยังคงมีเป้าหมายของการพัฒนาที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั่นคือระบบโทรคมนาคมที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากที่สุด

     

    ที่มา : เว็บไซด์ ผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 17 ตุลาคม 2560  โดย ปรเมศวร์ กุมารบุญ (สฟส.) 

    http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000122937

  • 15:50
  • 23/01/19

วิทยุสื่อสาร จัดว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการสื่อสารที่สำคัญของหลายหน่วยงานและองค์กร ต่างก็นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีไปอย่างกว้างและก้าวไกล อุปกรณ์นี้ยังคงเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่องและไม่มีแนวโนมที่จะลดลง

การสื่อสารถือเป็นเรื่องสำคัญของทุกคน รวมไปถึงหน่วยงาน องค์กร ทั้งที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เพราะทำให้สามารถเข้าถึงความเข้าใจในการทำงานและความพร้อมเพียงในการเตรียมงานนั้นๆ บ่อยครั้งเรามักจะใช้โทรศัพท์ในการสิ่อสาร สั่งงาน กับบุคคลต่างๆ ภายในทีมหรือองค์กร มันก็ยังคงมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ไม่สามารถสื่อสารให้คนในองค์กรนั้นทราบพร้อมกันได้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน

ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวิทยุสื่อสารจะเห็นว่าข้อดีของอุปกรณ์นี้ สามารถทำได้ดีกว่าเพราะสามารถสื่อสารบอกคนในทีมได้พร้อมๆ กัน ขอแค่คนนั้นๆ มีอุปกรณ์ตัวนี้ก็พอ ซึ่งทุกคนก็สามารถตอบกลับได้ทันที แต่ข้อเสียของมันก็มีอยู่บ้าง อย่างเช่น อุปกรณ์ตัวนี้ ส่วนใหญ่จะสื่อสารไม่ได้ไกลมากนัก ขึ้นอยู่กับคลื่นความถี่ของอุปกรณ์ ดังนั้นจึงนิยมใช้ภายในงานเฉพาะพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร ภายในงานสังสรรค์ โรงงาน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ใช้คลื่นความถี่แบบระยะไกลเช่น ตำรวจ 1669 โรงพยาบาล ซึ่งคนกลุ่มนี้จะสามารถสื่อสารกันได้ไกลหลายกิโลเมตรเลยทีเดียว เพราะ อาศัยคลื่นส่งสัญญาณขนาดใหญ่ เหมือนกับสถานีวิทยุนั้นเอง แต่ในปัจจุบันนี้ก็มีการใช้วิธีการสื่อสารแบบใหม่ในโลกของโซเชียล นั้นคือการแชท แต่เดิมมันถูกทำมาเพื่อแชทแบบ 1 – 1 และถูกพัฒนาให้สามารถแชทแบบกลุ่มได้ ทุกวันนี้มีหลายบริษัทที่นำแอพหรือโปรแกรมนี้มาใช้ในการทำงาน เช่น แอพพลิเคชั่น LINE

อย่างเช่น ฝ่ายยึดรถของ บริษัทไฟแนนซ์ ก็มักจะแชร์รูปรถที่กำลังตามยึด หรือ สถานีตำรวจ วางแผนการตั้งด่านสุ่มตรวจยาเสพติด ซึ่งอย่างบริษัทไฟแนนซ์หากจะพกวิทยุสื่อสารก็คงไม่เหมาะ ส่วนสถานีตำรวจหากใช้วิทยุในการสื่อสารก็กลัวจะโดนดักฟัง หากเป็นคนร้ายก็คงจะรู้ตัว เพราะคลื่นความถี่ของวิทยุเหล่านี้หากจูนความถี่มาถูกก็จะสามารถได้ยินทุกสิ่งทุกอย่างที่มีการสื่อสารผ่านทางวิทยุ

นั้นคือเหตุผลที่หลายสถานที่ หลายหน่วยงานยังคงนิยมใช้วิทยุสื่อสาร นอกจากความสะดวกและเหมาะสมกับงานหากเทียบกับการสื่อสารด้วยวิธีอื่น อุปกรณ์นี้ยังคงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด หากเลือกใช้ในงานที่เหมาะสม เพราะราคาและขนาด การออกแบบของอุปกรณ์ ที่มีรูปแบบต่างกันออกไป จึงทำให้หน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ เลือกใช้งานวิทยุสำหรับกสื่อสารในปัจจุบันเป็นอย่างมากและเชื่อว่าต่อให้มีอุปกรณ์มือถือรุ่นใหม่หรือเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลแค่ไหน ความนิยมของอุปกรณ์ตัวนี้จะไม่ลดน้อยลงอย่างแน่นอน

  • 14:23
  • 18/10/17

วิทยุสื่อสาร ทุกคนคงรู้จักกันดี แต่ Trunked Radio หรือระบบวิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ เป็นเครือข่ายวิทยุสื่อสาร ที่มีการทำงานคล้ายกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่นั่นเอง จะมีสถานีกลาง (System Control) ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณให้มีจำนวนช่องสัญญาณเพียงพอในการรองรับการใช้งานของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดในระบบ มีสถานีทวนสัญญาณ (Repeater Station) ทำหน้าที่เชื่อมโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ของเครือข่ายนั้นๆ และเลือกช่องสัญญาณที่ว่างอยู่ให้ลูกข่ายโดยอัตโนมัติ อีกทั้งสามารถเรียกเฉพาะเครื่องลูกข่ายที่ต้องการติดต่อได้ และมีระบบการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม (Private Call) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระบบการเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคมอื่น (PCM Switch) และมี โปรโตคอล MPT 1327 เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน นี่เป็นภาพรวมพอเข้าใจระบบ วิทยุ ทรั้งค์ จะเห็นว่ามันก็คือ เซลลูลาร์ ชนิดหนึ่งนั่นเอง เพียงแต่ว่า “ไม่เสียค่า แอร์ไทม์” 

ภาพสถานีทวนสัญญาณ วิทยุ ทรั้งค์ ด้านบนกลมๆ สีดำบนชั้น Rack เป็น Duplexer ทำหน้าที่แยกภาครับส่งของสายอากาศ กล่องสีดำรองลงมาคือ Repeater ส่วนกล่องสีขาวตรงกลางคือ PCM Switch และกล่องสีดำล่างกล่องขาวคือ Controller ส่วนกล่องดำล่างสุดเป็นภาคจ่ายไฟฟ้า และสำรองไฟฟ้า 

โดยที่การสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุทรั้งค์ จะประกอบไปด้วยข้อมูลต่าง ได้แก่

  o VOICE PLUS DATA เป็นระบบที่สนับสนุนการสื่อสารสัญญาณเสียงและรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งต้องเป็นการติดต่อผ่านสถานีแม่ข่ายเท่านั้น

 o PACKET DATA OPTIMIZED เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อการรับ-ส่งข้อมูลแบบ PACKET โดยเฉพาะ เช่น การเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือระบบควบคุม

   o DIRECT MODE หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างลูกข่ายโดยตรง ไม่ผ่านการจัดการจากหน่วยจัดการกลาง ซึ่งโดยปกติจะใช้เมื่ออยู่นอกพื้นที่ให้บริการของสถานีแม่ข่าย หรือกำหนดเพื่อต้องการความปลอดภัยในระดับสูง

ตัวอย่าง Supported regional link options

Traditional 2/4 Wire - 64Kbit - Microwave links - Digital UHF radio links - T1/E1 - TCP/IP     ในยุคต้น ระบบ TRUNKED RADIO และ CONVENTIONAL LAND MOBILE เป็นเทคโนโลยีแบบ อะนาลอก ซึ่งไม่มีความปลอดภัยหรือเป็นส่วนตัวมากนัก อีกทั้งยังเป็นการใช้ความถี่วิทยุที่ค่อนข้างจะสิ้นเปลือง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเหล่านี้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งนับได้ว่าเป็นระบบที่มีความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง ที่สำคัญเป็นเทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการการใช้ความถี่วิทยุได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาไปสู่ระบบดิจิทัลยังสามารถรวมเอาคุณสมบัติการสื่อสารทั้งแบบ TRUNKED RADIO และ CONVENTIONAL LAND MOBILE เข้าด้วยกันได้ โดยเรียกว่าระบบ DIGITAL TRUNKED RADIO 

วิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ ในประเทศไทยใช้สำหรับติดต่อภายในกลุ่มองค์กรใหญ่หรือหน่วยงานราชการ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นระบบดิจิตอลแล้ว ก็ได้มีการพัฒนาความสามารถของระบบให้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสามารถที่ลูกข่ายสามารถติดต่อกันเองได้โดยไม่ต้องผ่านการควบคุม และจัดการโดยสถานีแม่ข่าย หรือแม้แต่การเพิ่มความสามารถในการรองรับ-ส่งภาพเคลื่อนไหวแบบ Multi media ได้ รวมถึงการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ ทั้งนี้เทคโนโลยีต่างๆ ได้มีการพัฒนาที่แตกต่างกันไปในทางเทคนิค แต่ยังคงมีเป้าหมายของการพัฒนาที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั่นคือระบบโทรคมนาคมที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากที่สุด

 

ที่มา : เว็บไซด์ ผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 17 ตุลาคม 2560  โดย ปรเมศวร์ กุมารบุญ (สฟส.) 

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000122937